22.09.2561 (2018) ศิลปะสถาปัตยกรรมเมืองเชียงตุงยุคเก่า คือ ศิลปะล้านนา จาก เรื่องเล่าชาวล้านนา.

22.09.2561 (2018) 

ศิลปะสถาปัตยกรรมเมืองเชียงตุงยุคเก่า คือ ศิลปะล้านนา

ขอบคุณ ภาพและข้อมูล จาก เรื่องเล่าชาวล้านนา


 01.


02.


 03.


 04.


 05.


 06.


 07.


 08.


 09.


 10.


 11.


 12.


 13.


 14.


 15.


 16.


 17.


18.



เรื่องเล่าชาวล้านนา
ศิลปะสถาปัตยกรรมเมืองเชียงตุงยุคเก่า คือ ศิลปะล้านนา
(โดยเฉพาะวิหารเมืองเชียงตุง จะเป็นตัวอย่างของวิหารล้านนากลุ่มเมืองเชียงแสน)
เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่าในปัจจุบัน ในอดีตถือเป็นดินแดนที่เคยเป็นส่วนหนึ่งอาณาจักรล้านนา ทั้งนี้มีประวัติความเป็นมากล่าวว่า พระญามังรายได้โปรดให้สร้างเมืองเชีงตุงขึ้น ใน พ.ศ. 1872 และส่งเจ้าน้ำท่วม ผู้เป็นพระราชนัดดาไปปกครองในฐานะเมืองลูกหลวง เมืองเชียงตุงจึงมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับล้านนา โดยเฉพาะเมืองเชียงแสน ดังนั้นศิลปะสถาปัตยกรรมของเมืองเชียงตุงแต่ดั้งเดิม จึงมีลักษณะและรูปแบบเป็นศิลปะล้านนา
โดยเฉพาะในช่วงพุทธศตวรรษที่ 20 -21 พระพุทธศาสนาลังกาวงศ์ทั้งสายวัดสวนดอก(รามัญ) และสายวัดป่าแดงหลวง(สีหล) ได้เผยแผ่ไปตั้งมั่นอยู่ที่เมืองเชียงตุง ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏร่องรอยของการนับถือพระพุทธศาสนาอยู่ในเมืองเชียงตุง ยังแบ่งออกเป็น 2 สายหรือนิกาย คือนิกายวัดสวนดอก(สายรามัญ)มีวัดยางกวงในเมืองเชียงตุงเป็นหลัก และนิกายวัดป่าแดง(สายสีหล)มีวัดป่าแดงในเมืองเชียงตุงเป็นหลัก ซึ่งทั้งสองนิกายนี้จะมีวิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันและจะไม่ทำสังฆกรรมร่วมกัน
ที่วัดป่าแดงเมืองเชียงตุง ปรากฏหลักฐานภาพถ่ายเก่าเจดีย์วัดป่าแดง เมืองเชียงตุง มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงปราสาทยอดเจดีย์ทรงระฆัง มีซุ้มจะนำด้านละ 3 ซุ้ม (คาดว่าแต่เดิมจะเป็นเจดีย์ช้างล้อม) ซึ่งคล้ายคลึงกับเจดีย์วัดป่าแดงหลวงเมืองเชียงใหม่(ดูภาพ) แต่ปัจจุบันถูกซ่อมแปลงเป็นศิลปะพม่า
และที่วัดยางกวง เมืองเชียงตุง ปรากฏร่องรอยวิหาร เจดีย์ และซุ้มประตูโขง(ดูภาพ) เป็นศิลปะล้านนาอย่างชัดเจน แม้ปัจจุบันจะได้รับการบูรณะเปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นศิลปะพม่า แต่ทรวดทรงและลวดบัวที่เหลืออยู่ และจากคำบอกเล่าของผู้สูงอายุ ยืนยันว่าเป็นรูปแบบล้านนา
สรุปแล้วศิลปะสถาปัตยกรรมเมืองเชียงตุงยุคเก่าจะเป็นศิลปะล้านนา
แต่หลังจากเมื่อพม่าได้เอกราชจากอังกฤษและเข้าปกครองเมืองเชียงตุงตั้งแต่ พ.ศ. 2491 พระสงฆ์พม่า(ภายใต้การปกครองคณะสงฆ์ของพม่า)ได้ซ่อมแปลงพุทธสถานดั้งเดิมของเมืองเชียงตุง(รูปแบบล้านนา)เป็นรูปแบบศิลปะพม่า ด้วยการสร้างใหม่เป็นเจดีย์แบบพม่าครอบทับเจดีย์ล้านนา (ดูภาพเก่า เจดีย์วัดพระธาตุหลวงวัดจอมคำ ที่กำลังถูกสร้างครอบ) รวมทั้งดัดแปลงวิหาร โดยสร้างทับบนฐานเดิม และเปลี่ยนเครื่องบนเป็นแบบวิหารพม่า ทำให้ในทุกวันนี้ศิลปะสถาปัตยกรรมในเมืองเชียงตุงส่วนใหญ่ เป็นศิลปะแบบพม่า
อย่างไรก็ตามได้หลงเหลือวิหารแบบล้านนาอยู่จำนวนหนึ่ง ที่เหลือรอดพ้นจากการถูกซ่อมเปลี่ยนแปลง คือวิหารวัดบ้านแง๊ก และวิหารวัดบ้านแสน(ดูภาพ) ซึ่งอยู่ในชุมชนของชาวลัวะในเขตป่าและภูเขาชายขอบนอกเมืองเชียงตุง
วิหารวัดบ้านแง๊ก และวิหารวัดบ้านแสน เป็นวิหารที่มีแผนผังของฐานวิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเป็นแบบแผนหนึ่งของวิหารที่ปรากฏอยู่ในเมืองเชียงแสน พะเยา และเวียงลอ(กลุ่มลุ่มน้ำกก - อิง) และโครงสร้างเครื่องบนของวิหารทั้งสองแห่งนี้ เป็นระบบที่ล้านนาเรียกว่า ขื่อม้าต่างไหม และทำหลังคาทำเป็นลดชั้นลงด้านหน้า 1 - 2 ชั้น ด้านหลัง 1 - 2 ชั้น
หลักฐานที่เหลืออยู่ที่เมืองเชียงตุงดังที่กล่าวมาแล้ว ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ศิลปะสถาปัตยกรรมของเมืองเชียงตุงยุคเก่านั้น เป็นศิลปะล้านนาอย่างชัดเจน
โดยเฉพาะวิหารวัดบ้านแง๊ก และวิหารวัดบ้านแสน ที่ยังหลงเหลืออยู่ดังกล่าว น่าจะเป็นตัวอย่างอีกรูปแบบหนึ่งของวิหารล้านนากลุ่มเมืองเชียงแสน (ซึ่งเป็นเมืองร้างไปตั้งแต่ พ.ศ. 2347) ได้เป็นอย่างดี.

Cr อ.สุรพล ดำริห์กุล

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

16.06.2561 พระธาตุจุ๊กเปงฟ้า ไหว้สา ฤาษีเจ้าสี่ธาตุ นครเชียงตุง รัฐฉาน เมียนมาร์

10.05.2561 (2018) วัดพุทธวงค์ ตำบล.(บ้าน) กาดเต่า แขวงเชียงตุง รัฐฉาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา.

25.01.2561 ตำนานเรื่องเล่า พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์พระเกล็ดพญานาค แห่ง วัดยางกวง เชียงตุง สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์.